ระบบงานอิงค์เจ็ท

     อิงค์เจ็ทปริ้นเตอร์ (Inkjet printer) คือเครื่องพิมพ์ที่ใช้น้ำหมึกเป็นวัสดุในการพิมพ์ สามารถพิมพ์เอกสารเป็นสีได้ โดยมักจะมีแม่สีดังนี้ ดำ, ม่วงแดง, เหลือง, ฟ้า เป็นต้น ปัจจุบันมีการพัฒนาตลับหมึกให้ใหญ่ขึ้นโดยเรียกกันว่าอิงค์แทงค์ ข้อดีคือทำให้น้ำหมึกมีราคาถูกลง เป็นหมึกแท้จากโรงงาน และสามารถพิมพ์งานได้เป็นจำนวนมาก ติดตามรายละเอียดของอิงค์เจ็ทปริ้นเตอร์ได้ดังนี้

     ข้อเด่นของอิงค์เจ็ทปริ้นเตอร์

- สามารถพิมพ์เอกสาร หรือรูปภาพที่เป็นสีได้

- ไม่มีกลิ่นเหม็นไหม้เหมือนกับเลเซอร์ปริ้นเตอร์ และไม่เสียงดังเท่ากับปริ้นเตอร์แบบดอทเมตริกซ์

เครื่องพิมพ์มีขนาดเล็กไม่เปลืองพื้นที่ และมีน้ำหนักเบา ยกเว้นบางรุ่นที่พิมพ์ขนาด A3 ได้น้ำหนักจะมากกว่ารุ่นที่เป็นมาตรฐานปริ้นงานขนาด A4

     ข้อด้อยของอิงค์เจ็ทปริ้นเตอร์

- ต้องพิมพ์งานอย่างสม่ำเสมอ มิเช่นนั้นแล้วหัวพิมพ์จะตัน ซึ่งบางครั้งหากซ่อมไม่ได้ก็ต้องเปลี่ยนหัวพิมพ์ใหม่ สุดท้ายหากสู้ราคาหัวพิมพ์ไม่ไหวก็ต้องทิ้งเครื่องนั้นไป

- การเติมหมึกถึงแม้ว่าจะมีการออกแบบให้เติมได้ง่ายแล้ว แต่ก็ยังคงต้องระมัดระวังอยู่ เพราะสามารถเปรอะเปื้อนได้ง่ายกว่าหมึกพิมพ์ของปริ้นเตอร์ชนิดอื่น

- การล้างหัวพิมพ์นั้นใช้น้ำหมึกที่อยู่ในแทงค์หรือในตลับที่เราใช้งาน แต่การล้างหัวพิมพ์นั้นจะเปลืองหมึก เนื่องจากต้องใช้น้ำหมึกเป็นจำนวนมาก

- ปริ้นเตอร์ที่เป็นอิงค์แทงค์ต้องเปลี่ยนซันหมึกเมื่อถึงเวลา ทำให้ค่อนข้างเสียเวลาและค่าใช้จ่าย

     ประเภทของงานพิมพ์

1. การพิมพ์ออฟเซ็ท (Offset Printing)
2. การพิมพ์เลตเตอร์เพรสส์ (Letterpress Printing)
3. การพิมพ์(ซิลค์)สกรีน (Silks Screen Printing)
4. การพิมพ์ดิจิตอล (Digital Printing)
5. การพิมพ์เฟล็กโซกราฟี (Flexography)
6. การพิมพ์กราวัวร์ (Gravure)

     การพิมพ์ออฟเซ็ท (Offset Printing) เป็นการพิมพ์พื้นราบที่ใช้หลักการน้ํากับน้ํามันไม่รวมตัวกันโดยสร้างเยื่อน้ําไปเกาะอยู่บนบริเวณไร้ภาพของแผ่นแม่พิมพ์เมื่อรับหมึก หมึกจะไม่เกาะน้ําแต่จะไปเกาะบริเวณที่เป็นภาพ แล้วถูกถ่ายลงบนผ้ายางและกระดาษพิมพ์ต่อไป การพิมพ์ออฟเซ็ทสามารถผลิตงานพิมพ์ที่มีคุณภาพสูงจนถึงสูงมากได้ เครื่องพิมพ์มีหลายขนาด มีทั้งเครื่องพิมพ์ 1 สี 2 สี 4 สี 5 สี หรือมากกว่านั้น ตัวอย่างงานที่เหมาะกับงานพิมพ์ออฟเซ็ท เช่น พิมพ์แผ่นพับ พิมพ์ใบปลิว พิมพ์หนังสือ พิมพ์วารสาร พิมพ์นิตยสาร พิมพ์โบรชัวร์ พิมพ์แคตตาล็อก บรรจุภัณฑ์กระดาษ งานพิมพ์ใช้ในสํานักงาน ฯลฯ

     การพิมพ์เลตเตอร์เพรสส์ (Letterpress Printing) เป็นการพิมพ์พื้นนูนที่ใช้แม่พิมพ์ทําจากโลหะผสม หรือพอลิเมอร์อย่างหนากัดผิวจนเหลือส่วนที่เป็นภาพนูนสําหรับรับหมึกพิมพ์ แล้วถ่ายทอดลงบนวัสดุที่ใช้พิมพ์โดยใช้วิธีกดทับ ในยุคก่อนมีการใช้ตัวอักษรโลหะเป็นตัวๆ มาจัดเรียงเป็นข้อความที่ต้องการแล้วใช้เป็นแม่พิมพ์ การพิมพ์เลตเตอร์เพรสส์มีมานานมาก ในปัจจุบันมีการพิมพ์ประเภทนี้เหลืออยู่น้อย เนื่องจากการทําแม่พิมพ์ลําบาก และภาพพิมพ์ที่ได้ไม่ค่อยสวยงาม ตัวอย่างงานพิมพ์ประเภทนี้ เช่น นามบัตร แบบฟอร์ม ฉลาก กล่อง ป้ายและงานพิมพ์อื่นๆ ที่ไม่ต้องการความละเอียดมาก

     การพิมพ์ซิลค์สกรีน (Silk Screen Printing) เป็นการพิมพ์พื้นฉลุที่ใช้หลักการพิมพ์ โดยให้หมึกซึมทะลุผ่านผ้าที่ขึงตึงไว้ และให้ทะลุผ่านเฉพาะบริเวณที่เป็นภาพ สามารถพิมพ์งานสอดสีได้ ความละเอียดของภาพพิมพ์ขึ้นอยู่กับความถี่ของเส้นใยผ้า สามารถพิมพ์ลงบนวัสดุได้หลากหลากชนิด ทั้งกระดาษ ผ้า ไม้ พลาสติก และพิมพ์บนวัสดุที่มีผิวโค้งได้ เช่น การพิมพ์โลโก้ลงบนแก้วกระดาษหรือพลาสติก

     การพิมพ์ดิจิตอล (Digital Printing) เป็นการพิมพ์ที่ใช้เครื่องพิมพ์ หรือพริ้นเตอร์ต่อพ่วงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถสั่งพิมพ์ได้โดยตรงจากเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์หรือพริ้นเตอร์ที่ใช้คือ เครื่องพิมพ์อิ้งค์เจ็ทขนาดเล็กหรือใหญ่ เครื่องพิมพ์เลเซอร์ความเร็วปกติจนถึงความเร็วสูง เครื่องพิมพ์ดิจิตอลใช้หมึกประจุไฟฟ้า ตัวอย่างงานพิมพ์ประเภทนี้ เช่น งานพิมพ์ที่มีปริมาณไม่มาก เช่น นามบัตร แผ่นพับ ใบปลิว หนังสือ งานพิมพ์ที่มีการเปลี่ยนภาพหรือข้อความบ่อยๆ

     การพิมพ์เฟล็กโซกราฟี (Flexography) เป็นการพิมพ์พื้นนูนที่ใช้แผ่นพอลิเมอร์ที่มีความยืดหยุ่นที่ดีเป็นแม่พิมพ์ โดยกัดส่วนที่ไม่รับหมึกเว้าลึกลงไป การพิมพ์ในระบบนี้ใช้หลักการคล้ายกับการพิมพ์แบบเลตเตอร์เพรส คือใช้การกดทับ แต่หมึกที่ใช้จะเหลวกว่าและใช้ลูกกลิ้งที่ทําขึ้นเป็นพิเศษทําหน้าที่จ่ายหมึกในปริมาณที่สม่ำเสมอให้กับแม่พิมพ์ การพิมพ์ประเภทนี้ได้รับการพัฒนาจนสามารถพิมพ์ภาพสอดสีได้ แม้คุณภาพงานพิมพ์จะยังเทียบเท่าการพิมพ์แบบออฟเซ็ทไม่ได่ แต่ก็มีใช้ในสิ่งพิมพ์หลายๆ ประเภท งานพิมพ์ประเภทนี้ เช่น กล่องลูกฟูก กล่องกระดาษแข็ง ฉลาก ป้าย กล่องกระดาษ กระดาษชําระ ถุงและซองพลาสติก

     การพิมพ์กราวัวร์ (Gravure) เป็นการพิมพ์พื้นลึกที่ใช้แม่พิมพ์ที่เป็นร่องลึกสําหรับบริเวณที่เป็นภาพเพื่อเก็บหมึก แล้วปล่อยลงบนผิวของชิ้นงานพิมพ์ คุณภาพของงานพิมพ์ประเภทนี้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี แม่พิมพ์แบบนี้มักเป็นลูกกลิ้งทรงกระบอก ทําด้วยโลหะ ใช้วิธีกัดผิวทรงกระบอกเป็นหลุมตามบริเวณที่เป็นภาพ จึงทํายากและใช้เวลา อีกทั้งมีค่าใช้จ่ายสูง จึงเหมาะกับงานที่ใช้ระยะยาว งานพิมพ์ประเภทนี้ เช่น งานพิมพ์ประเภทซองพลาสติกใส่อาหารและขนม งานพิมพ์บนพลาสติกต่างๆ งานพิมพ์ในต่างประเทศบางแห่ง การพิมพ์แมกกาซีน หนังสือพิมพ์และงานพิมพ์บนกระดาษที่มีปริมาณพิมพ์สูง

มีการจัดส่งขนส่งเอกชนที่มาตรฐาน

                                   

Visitors: 528,068